เช็คหลอดไฟ LED ให้พร้อมก่อนใช้งานช่วงหยุดยาว

เช็คหลอดไฟ LED ให้พร้อมก่อนใช้งานช่วงหยุดยาว

เตรียมความพร้อมก่อนเดินทางไกลด้วยการตรวจเช็คหลอดไฟ LED

ใกล้เทศกาลวันหยุดยาวเข้าไปทุกทีแบบนี้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่มีแผนการเดินทางออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ต้องมีการตรวจเช็คหลอดไฟ LED ด้วยวิธีเช็คหลอดไฟ LED ขาดก่อนการเดินทางไกลเพื่อไม่ให้หลอดไฟกระพริบอะไรเสียต่าง ๆ สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าของบ้านที่อาจมีการใช้งานหลอดไฟในระหว่างที่ไม่อยู่บ้าน ซึ่งวิธีเช็คหลอดไฟขาดนี้จะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานหลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับ

เจ้าของบ้านที่มีการเปิดใช้งานหลอดไฟให้กับสัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้เดินทางไปด้วยกันให้ได้รู้สึกอุ่นใจ ไม่รู้สึกว่าถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง นอกจากนี้การตรวจเช็คหลอดไฟ LED ก่อนถึงช่วงเทศกาลต่าง ๆ ยังเหมาะสำหรับธุรกิจและสำนักงานต่าง ๆ ที่กำลังอยู่ในช่วงพักกิจการได้มีโอกาสเช็คหลอดไฟกระพริบ อะไรเสีย และยังเหมาะกับธุรกิจโรงแรมและที่พักต่าง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลต่าง ๆ นี้อีกด้วย

วิธีสังเกตหลอดไฟเมื่อใกล้หมดเวลาใช้งาน

ซึ่งก่อนที่เราจะทำการตรวจเช็คหลอดไฟ LED ก่อนช่วงเทศกาลวันหยุดที่ใกล้จะมาถึงนี้ YLN Electric ในฐานะของตัวแทนจำหน่ายหลอดไฟที่แท้จริงจะขอพาทุกคนไปสังเกตอาการเมื่อหลอดไฟกระพริบ อะไรเสียหรือมีสัญญาณที่แจ้งเตือนว่าใกล้ได้เวลาที่หลอดไฟจะหมดอายุขัยกันง่าย ๆ ด้วยวิธีเช็คหลอดไฟ LED ขาดที่คุณก็สามารถสังเกตและเช็คหลอดไฟ LED ได้ด้วยตนเอง จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย!

หลอดไฟสั่น กระพริบบ่อย ๆ 

เมื่อหลอดไฟมีอาการสั่น หรือกระพริบบ่อยจนรู้สึกได้ อาจเป็นสัญญาณแรกที่บ่งบอกได้ว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นี้ใกล้ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว ซึ่งอาการหลอดไฟกระพริบอะไรเสียต่าง ๆ นี้อาจเกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าที่ไม่เสถียร หรือที่เรียกกันว่าอาการไฟตก หรืออาจเกิดขึ้นจากขั้วหลอดไฟหลวมหรือชำรุดได้ เบื้องต้นในการเช็คหลอดไฟ LED แล้วพบปัญหาดังกล่าวนี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการขยับหลอดไฟให้แน่นกระชับพอดี หรือหากเป็นหลอดไฟใหม่ก็สามารถเปิดใช้งานทิ้งไว้สักครู่ อาการเหล่านี้ก็อาจจะหายไปเองได้ในที่สุด

มีเสียงดังออกมาจากหลอดไฟที่ใช้งาน

หากอยู่ดี ๆ หลอดไฟของคุณมีเสียงดังออกมาอย่างผิดปกติคล้ายเสียงผึ้งหรือแมลงบินวน ๆ แบบนี้ อาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่าถึงเวลาที่เราต้องเช็คหลอดไฟ LED เสียแล้ว เนื่องจากเสียงดังหึ่ง ๆ แบบนี้มักเกิดขึ้นกับหลอดไฟที่ไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นจากหลอดไฟที่ใกล้เสื่อมสภาพเต็มที เบื้องต้นสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการลองเปิดใช้งานหลอดไฟเจ้าปัญหานี้เป็นเวลา 5-10 นาที เพื่อสังเกตอาการ หากเสียงรบกวนดังกล่าวหายไปก็ถือว่ายังสามารถใช้งานหลอดไฟได้ตามปกติ แต่หากเสียงหึ่ง ๆ นี้ยังคงอยู่อาจเป็นสัญญาณที่ต้องตรวจเช็คหลอดไฟ LED และเปลี่ยนสู่หลอดไฟดวงใหม่แล้วจริง ๆ

หลอดไฟไม่สว่างเท่าเดิม

เมื่อมีการใช้งานหลอดไฟเป็นเวลานานจะสังเกตได้ว่าหลอดไฟอาจมีความสว่างที่ไม่เท่าเดิม เนื่องจากปัจจัยด้านการใช้งานต่าง ๆ ซึ่งวิธีสังเกตและตรวจเช็คหลอดไฟ LED ว่าใกล้เสื่อมสภาพลงนี้สามารถสังเกตได้จากความสว่างของหลอดไฟ หากมีความสว่างที่ลดลงก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้ได้เวลาเปลี่ยนหลอดไฟแล้วนั่นเอง

ขั้วหลอดไฟดำ

หนึ่งในสัญญาณจากการเช็คหลอดไฟ LED ว่าถึงเวลาที่เราควรเปลี่ยนหลอดไฟแล้วนั่นก็คือการที่ขั้วหลอดไฟดำขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการที่ขั้วหลอดไฟจะดำขึ้นแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • การใช้งานเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน โดยหลอดไฟที่มีการใช้งานเป็นระยะเวลาที่ยาวนานแบบนี้อาจส่งผลให้ขั้วหลอดไฟดำขึ้น เนื่องจากใกล้หมดอายุการใช้งาน จึงสามารถเปลี่ยนหลอดไฟได้ตามปกติ
  • หลอดไฟมีการรับกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติ เป็นไปได้ว่าการที่ขั้วหลอดไฟดำในระยะเวลาอันรวดเร็วนี้อาจเกิดขึ้นจากการที่อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟให้กับหลอดเกิดการลัดวงจร จึงทำให้บริเวณขั้วหลอดไฟดำขึ้นมาได้ โดยหากเช็คหลอดไฟ LED แล้วพบว่าหลอดไฟของคุณมีขั้วหลอดที่ดำขึ้นเพราะเหตุผลนี้ เราขอแนะนำให้ทำการเปลี่ยนหลอดไฟด้วยเทคนิคการเปลี่ยนหลอดไฟที่ง่าย และสามารถทำได้ด้วยตนเองอีกด้วย
  • ความชื้นและสิ่งสกปรก บางครั้งขั้วหลอดไฟของเราอาจมีคราบดำที่เกิดขึ้นจากความชื้นและสิ่งสกปรกในบริเวณที่ใช้งานได้ ซึ่งคราบดำที่เกิดขึ้นนี้มักไม่มีผลต่อการใช้งานแต่อาจก่อให้เกิดความรบกวนใจได้ ซึ่งหากเป็นคราบดำจากความชื้นและสิ่งสกปรกนี้คุณสามารถใช้ผ้าแห้งเช็ดถูเบา ๆ บริเวณขั้วหลอดไฟ เพื่อลดฝุ่นละอองและคราบสกปรกได้นั่นเอง

หลอดไฟใช้เวลานานกว่าจะเปิดติด

หากในการใช้งานมีการเช็คหลอดไฟ LED แล้วพบว่ากว่าหลอดไฟจะเปิดติดนั้นใช้เวลานานกว่าผิดปกติ นี่อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณสำคัญที่บอกว่าหลอดไฟนั้นเสื่อมสภาพลงแล้ว ซึ่งการที่หลอดไฟใช้เวลานานกว่าจะเปิดติดนี้อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น สตาร์ทเตอร์เสื่อม หลอดไฟเสื่อม หรือแม้กระทั่งแรงดันไฟฟ้าภายในบ้านต่ำ ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยการจัดหาหม้อแปลงไฟฟ้าที่ให้มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ และหมั่นเช็คหลอดไฟ LED อยู่เสมอก่อนการใช้งานนั่นเอง

หลอดไฟดับ

การที่หลอดไฟดับ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ไม่ว่าจะตรวจเช็คหลอดไฟ LED อย่างไรก็ไม่พบปัญหาจากปัจจัยภายนอกได้ นี่เป็นอาการที่ชัดเจนที่สุดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานอยู่นั้นหมดอายุการใช้งานเรียบร้อยแล้ว แต่ในกรณีที่หลอดไฟ LED ดับกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากไฟตกหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ ให้ตรวจเช็คหลอดไฟ LED ในส่วนของสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ภายในบ้านก่อน เพื่อความปลอดภัยสูงสุดนั่นเอง

หลอดไฟเสื่อมสภาพส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?

การตรวจเช็คหลอดไฟ LED ก่อนเทศกาลวันหยุดที่หลาย ๆ คนต้องเดินทางไกล จะช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิต สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สินได้ หากมีการตรวจเช็คหลอดไฟ LED เป็นประจำ หมั่นตรวจสอบว่ามีหลอดไฟกระพริบ อะไรเสีย? ด้วยวิธีเช็คหลอดไฟ LED ขาดอยู่เสมอ จะช่วยให้คุณสามารถใช้งานหลอดไฟได้อย่างปลอดภัย ปราศจากความกังวลได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งการที่หลอดไฟเสื่อมสภาพนี้ จะส่งผลเสียในด้านต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น 

  • ด้านความปลอดภัย 

เมื่อตรวจเช็คหลอดไฟ LED แล้วพบว่าหลอดไฟมีความเสื่อมสภาพ อาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้งานได้ อาทิเช่น หลอดไฟขาดหรือระเบิด อาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือไฟฟ้าช็อตได้ นอกจากนี้ หลอดไฟที่แสงไม่สว่างเพียงพออาจทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ในพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างที่เพียงพอนั่นเอง

  • ด้านความสะดวกสบาย 

หากหลอดไฟเสื่อมสภาพอาจทำให้แสงสว่างไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกในการมองเห็น อาจทำให้ทำงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ยากขึ้น อีกทั้งอาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่สบายตา ถูกรบกวนจิตใจ อีกทั้งยังทำให้เสียสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ง่ายอีกด้วย

  • ด้านความสวยงาม 

หลอดไฟที่มีความเสื่อมสภาพอาจทำให้แสงสว่างไม่สม่ำเสมอหรือมีสีสันเปลี่ยนไป ส่งผลให้ความสวยงามของสถานที่นั้น ๆ ลดลง ฉะนั้นก่อนการใช้งานหลอดไฟเพื่อความสวยงามนี้จึงควรเช็คหลอดไฟ LED ก่อนการใช้งานจริงอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นนั่นเอง

  • ด้านค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษา 

นอกจากนี้หากเช็คด้วยวิธีเช็คหลอดไฟขาดเป็นประจำ จะทำให้หลอดไฟที่ใช้งานเสื่อมสภาพอาจทำให้ต้องเสียเงินในการเปลี่ยนหลอดไฟใหม่บ่อยครั้ง ทางที่ดีคือควรเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ที่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไฟรูปแบบเดิม อีกทั้งยังมีความทนทานกว่า ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีสะดุดอีกด้วย

เปลี่ยนสู่หลอดไฟดวงใหม่ ใช่ทุกความต้องการ

เมื่อมีการตรวจเช็คหลอดไฟ LED เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนสู่หลอดไฟดวงใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานที่แท้จริง ซึ่งการเปลี่ยนหลอดไฟนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานหลอดไฟต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าจากหลอดไฟที่ไม่พร้อมใช้งานด้วยวิธีเช็คหลอดไฟ LED ขาดได้ง่าย ๆ อีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนหลอดไฟ LED สามารถทำตามได้ด้วยตนเองดังต่อไปนี้

วิธีเปลี่ยนหลอดไฟ LED ง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง

  1. ตรวจเช็คหลอดไฟ LED ให้อยู่สภาพที่สมบูรณ์ ปราศจากตำหนิ ความชำรุดต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการใช้งาน และควรทำหลอดไฟไปผ่านวิธีเช็คหลอดไฟ LED ขาดก่อนการติดตั้งจริงอีกด้วย
  2. เตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติม หากเป็นการเปลี่ยนจากหลอดไฟรูปแบบธรรมดาสู่หลอดไฟ LED จำเป็นต้องเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
  • อุปกรณ์ตัดวงจรบัลลาสต์ (หากต้องการตัดวงจรบัลลาสต์)
  • อุปกรณ์ต่อหลอด LED เข้ากับรางไฟฟลูออเรสเซนต์ (หากรางไฟฟลูออเรสเซนต์เป็นแบบมีบัลลาสต์)
  1. ปิดสวิตซ์ไฟก่อนการติดตั้งเสมอ หากมีฝาครอบหลอดไฟให้ทำการถอดออกด้วยเช่นเดียวกัน
  2. ถอดหลอดไฟเดิมออกก่อน หากเป็นหลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนต์ให้ทำการจับหลอดไฟเดิมให้แน่นแล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อถอดออก
  3. ตรวจสอบวงจรบัลลาสต์ หรือหากต้องการตัดวงจรบัลลาสต์ออกให้ทำการตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์ตัดวงจรบัลลาสต์หรือไม่? หากไม่มีผู้ใช้งานจะต้องตัดวงจรบัลลาสต์ด้วยตนเอง ด้วยการตัดสายไฟที่ต่อเข้าบัลลาสต์ออก จากนั้นจึงใช้เทปพันสายไฟพันปลายสายไฟที่ตัดออกให้เรียบร้อย
  4. ต่อหลอด LED เข้ากับรางไฟฟลูออเรสเซนต์ให้เรียบร้อย หากรางไฟฟลูออเรสเซนต์เป็นแบบมีบัลลาสต์ ให้ต่อหลอด LED เข้ากับรางไฟฟลูออเรสเซนต์ แต่หากรางไฟฟลูออเรสเซนต์เป็นแบบไม่มีบัลลาสต์ ร้านขายหลอดไฟLED อย่าง YLN Electric ขอแนะนำให้ต่อหลอด LED เข้ากับรางไฟฟลูออเรสเซนต์โดยต่อสายไฟเข้ากับขั้วหลอดไฟ LED ตามเข็มนาฬิกานั่นเอง
  5. เช็คหลอดไฟ LED ให้พร้อมใช้งาน และทำการปิดฝาครอบหลอดไฟให้เรียบร้อย เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานหลอดไฟได้ตามปกติแล้วนั่นเอง

ข้อควรระวังในการเปลี่ยนหลอดไฟด้วยตนเอง

ถึงการเช็คหลอดไฟ LED และการเปลี่ยนหลอดไฟจะเป็นเรื่องที่ง่าย และสามารถทำได้ด้วยตนเองแบบนี้ แต่แท้จริงแล้วยังมีข้อควรระวังในการเปลี่ยนหลอดไฟที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรในระหว่างการใช้งาน ที่อาจสร้างความกังวลใจให้กับผู้ใช้งานที่มีการเปิดใช้งานในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวแบบนี้ หากใครที่ต้องการเปลี่ยนหลอดไฟด้วยตนเองจำเป็นต้องเฝ้าระวังเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ตรวจเช็คหลอดไฟ LED ก่อนการติดตั้งเสมอ เพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องที่อาจส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้นั่นเอง
  • ห้ามเปลี่ยนหลอดไฟ LED ในขณะที่มีไฟเปิดอยู่ เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และอาจเกิดอุบัติเหตุในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยได้
  • เลือกซื้อหลอดไฟ LED จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ รวมไปถึงเลือกซื้อหลอดไฟ LED จากผู้จัดจำหน่ายที่ได้มาตรฐาน มีความเชี่ยวชาญด้านหลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีและใช้งานได้นานตามต้องการ
  • หากไม่มีความถนัด หรือไม่สามารถเปลี่ยนหลอดไฟ LED ได้ด้วยตนเอง เราขอแนะนำให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญหรือติดต่อช่างไฟฟ้าให้ดำเนินแทน

แนะนำหลอดไฟ LED และอุปกรณ์ IoT สำหรับการใช้งาน

สำหรับใครที่ต้องการเปลี่ยนหลอดไฟกระพริบ อะไรเสียให้กลายเป็นหลอดไฟดวงใหม่ ที่ตอบโจทย์การใช้งานที่แท้จริง อีกทั้งยังได้รับทั้งความคุ้มค่าในด้านของการใช้งาน พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่อาจถูกลงมากกว่าที่เคย วันนี้ YLN Electric ตัวแทนจำหน่ายหลอดไฟที่มากประสบการณ์กว่า 50 ปีจะขอมาแนะนำหลอดไฟ LED และอุปกรณ์ IoT ที่ตอบโจทย์การใช้งานตั้งแต่ระดับบ้านพักอาศัยไปจนถึงระดับออฟฟิศและอาคารสำนักงานต่าง ๆ มาฝากกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย 

หลอดไฟ LED เปลี่ยนง่ายไม่ยุ่งยาก

1.Hi-Tek หลอดไฟ LED 7 วัตต์ โมชั่นเซนเซอร์

เริ่มต้นกันที่ Hi-Tek หลอดไฟ LED 7 วัตต์ ที่มาพร้อมระบบโมชันเซ็นเซอร์ที่เพียงแค่เดินผ่านก็ทำให้หลอดไฟสว่างขึ้นมาได้ทันที หลอดไฟรุ่นนี้มีความทนทาน ใช้พลังงานน้อย จึงทำให้ใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องตรวจเช็คหลอดไฟ LED บ่อยครั้งนั่นเอง 

2.SHINING LED Magnetic Circular Lamp

2.SHINING LED Magnetic Circular Lamp

SHINING LED Magnetic Circular Lamp เป็นหลอดไฟ LED ที่มีดีไซน์ให้เลือกหลากหลายดีไซน์  มาพร้อมกับคุณสมบัติในการประหยัดพลังงานมากถึง 43% และยังถนอมสายตาผู้ใช้งานได้ดีกว่าอีกด้วย

3.SHINING LED Magnetic Circular Lamp 3 Step Colour Click

3.SHINING LED Magnetic Circular Lamp 3 Step Colour Click

สำหรับ SHINING LED Magnetic Circular Lamp เป็นหลอดไฟ LED ที่มาพร้อมจุดเด่นที่สามารถเปลี่ยนสีการใช้งานได้ถึง 3 สี ไม่ว่าจะเป็น Warm White, Cool White และ Daylight มาพร้อมกับแผงแม่เหล็กที่สามารถยึดกับโคมไฟเดิมได้ทันที เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

4.SHINING LED 3 Step Colour Click

4.SHINING LED 3 Step Colour Click

หากใครที่ต้องการหลอดไฟที่เน้นการใช้งานที่ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันที่แท้จริง ต้องนี่เลย SHINING LED 3 Step Colour Click หลอดไฟ LED ที่สามารถปรับได้ถึง 3 โทนสี Warm White, Cool White และ Daylight เพียงปลายนิ้วมือ มาพร้อมกับความคุ้มค่าทั้งในด้านพลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายที่ลดลงกว่าหลอดไฟรูปแบบเดิมถึง 86% อีกด้วย

5.SHINING LED A-Bulb Dimmable

5.SHINING LED A-Bulb Dimmable

อีกหนึ่งหลอดไฟ LED ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ที่พักอาศัย หรือแม้กระทั่งธุรกิจโรงแรมต่าง ๆ กับ SHINING LED A-Bulb Dimmable หลอดไฟ LED ที่สามารถปรับเปลี่ยนความสว่าง ช่วยถนอมสายตาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 

 

อุปกรณ์ IoT สำหรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

1.Hi-Tek HSFIL20DCW ชุดโคมเพดาน 20 วัตต์

สำหรับใครที่ต้องการอุปกรณ์ไฟฟ้า IoT ที่สามารถควบคุมการใช้งานด้วย WiFi และ Bluetooth ต้องนี่เลย Hi-Tek HSFIL20DCW ชุดโคมเพดาน 20 วัตต์ ที่มาพร้อมคุณสมบัติในการควบคุมการใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และยังสามารถสั่งให้ไฟกระพริบตามจังหวะเสียงเพลงได้อีกด้วย

2.Hi-Tek HSFILRGBC หลอดไฟอัจฉริยะ LED 9 วัตต์

2.Hi-Tek HSFILRGBC หลอดไฟอัจฉริยะ LED 9 วัตต์

ด้านโคมไฟเพดานเองก็ไม่น้อยหน้า เพราะ Hi-Tek HSFILRGBC หลอดไฟอัจฉริยะ LED 9 วัตต์ มาพร้อมคุณสมบัติการสั่งการให้หรี่แสง เปลี่ยนแสงได้ 3 รูปแบบไม่ว่าจะเป็น Warm White, Cool White และ Daylight สูงสุดถึง 1,600 ลูเมน อีกทั้งยังสามารถรองรับการสั่งการด้วยระบบเสียงได้อีกด้วย

3.Hi-Tek HSRC00001B ชุดควบคุมรีโมท IR อัจฉริยะ

3.Hi-Tek HSRC00001B ชุดควบคุมรีโมท IR อัจฉริยะ

สำหรับใครที่ต้องการอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์การใช้งานในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ ขอแนะนำ Hi-Tek HSRC00001B ชุดควบคุมรีโมท IR อัจฉริยะ ที่ช่วยให้การใช้งานไฟฟ้าง่ายเพียงปลายนิ้ว ด้วยการควบคุมหลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับสัญญาณอินฟาเรดผ่านแอปพลิเคชัน ตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเปิดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในเวลาที่ต้องการ เพิ่มความอุ่นใจในขณะที่ไม่อยู่บ้านได้ง่ายดายกว่าที่คิด

นอกจากนี้ YLN Electric ยังมีหลอดไฟ LED อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานอีกมากมาย พร้อมบริการเช็คหลอดไฟ LED ก่อนใช้งานและบริการจัดส่งด่วนผ่านผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ชั้นนำ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับสินค้าได้อย่างรวดเร็วทันใจภายในเวลาอันสั้นอีกด้วย!

ก่อนเทศกาลวันหยุดยาวที่ใกล้จะถึงนี้ อย่าลืมตรวจเช็คหลอดไฟ LED ว่ามีหลอดไฟกระพริบ อะไรเสียหรือไม่? ด้วยวิธีเช็คหลอดไฟ LED ขาดที่นำมาฝากกัน ซึ่งเป็นวิธีเช็คหลอดไฟขาดที่ง่าย และสามารถเช็คได้ด้วยตนเองในวันนี้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจเช็คหลอดไฟ LED เพิ่มเติมแบบนี้ สามารถแอดไอดี @ylne หรือสแกน Qr Code ด้านล่างนี้ได้เลย!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็ปไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก