ความแตกต่างของหลอดไฟยูวี

หลายคนอาจสงสัยว่าหลอดไฟ UV มีกี่ประเภท แล้วแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร โดยมักเข้าใจผิดไปว่าเป็นหลอดไฟยูวีก็เป็นเพียงหลอดไฟที่ใช้รังสี UV ในการทำงานเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่ารังสีชนิดนี้นั้นมีหลากหลายประเภท การใช้งานและประสิทธิภาพก็แตกต่างกัน ทำให้มีการผลิตและสร้างหลอดไฟ UV ขึ้นมาตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการของตนเอง 

หลอดไฟ UV

ประเภทของหลอดไฟ UV กับรังสี

หลอดไฟยูวีเป็นการนำรังสี UV มาผสมผสานเข้ากับการทำงานของหลอดไฟ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด โดยการช่วยเหลือผู้คนในยุคปัจจุบันให้แก้ไขปัญหาบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งการนำรังสีมาใช้นั้น โดยส่วนมากจะต้องมีความระมัดระวังสูง เพราะรังสีบางชนิดเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์และมีผลข้างเคียงที่ตามมา

เนื่องจากรังสี UV เป็นรังสีที่มีคุณสมบัติการเผาไหม้สูง ทำให้มีการประยุกต์เพื่อนำมาใช้ในการฆ่าและทำลายเชื้อโรคต่างๆ เพราะหากเป็นรังสียูวีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะถูกเจือจางในขณะที่ผ่านชั้นบรรยากาศ เทคโนโลยีหลอดไฟยูวีจึงเกิดขึ้นเพื่อเลียนแบบธรรมชาติให้สามารถเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และมีอันตรายน้อยที่สุด

โดยประเภทของรังสี UV จะแบ่งตามคลื่นความยาวของแสง เนื่องจากมีลักษณะและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน นั่นทำให้มีการผลิตหลอดไฟยูวีขึ้น 3 ชนิด คือ

  • หลอดไฟ UVA
  • หลอดไฟ UVB
  • หลอดไฟ UVC

หลอดไฟ UV

ความแตกต่างกับการใช้งานที่โดดเด่น

หลอดไฟยูวีทั้ง 3 ชนิด มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันทั้งสิ้น เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้มีการคำนวณถึงระยะของช่วงคลื่นว่าปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะกับการใช้ประโยชน์ในด้านนั้นๆ  รวมถึงจะเป็นอันตรายอย่างไรหากใช้ในระยะเวลาที่มากเกินไป ทำให้การใช้หลอดไฟยูวีจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและเลือกใช้ให้ตรงกับคุณสมบัติของชนิดของหลอดไฟนั้นๆ  โดยเราสามารถนำหลอดไฟยูวีมาใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อแตกต่างในด้านการใช้งานดังนี้

หลอดไฟ UVA (ช่วงคลื่นระหว่าง 315-400nm) 

เป็นหลอดไฟที่มีช่วงคลื่นของรังสีน้อยที่สุด มีความเข้มข้นต่ำที่สุด โดยจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาเด็กที่มีอาการตัวเหลือง ใช้ในการบำบัดด้วยแสงและรักษาโรคทางผิวหนังที่เกิดขึ้นบางชนิด ซึ่งนอกจากทางด้านการแพทย์แล้ว หลอดไฟ UVA ยังนิยมใช้ในการผลิตเครื่องอาบแดดเพื่อทดแทนแสงอาทิตย์  ใช้ประกอบเวทีการแสดงต่างๆ ใช้ทดสอบธนบัตรโดยการส่องไฟ อีกทั้งยังถูกใช้ในการดักจับแมลงอีกด้วย

หลอดไฟ UVB (ช่วงคลื่นระหว่าง 280-315 nm)

หลอดไฟชนิดนี้นิยมใช้ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคทางผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคด่างขาว เป็นต้น โดยการรักษาด้วยหลอดไฟ UVB จะมีประสิทธิภาพและมีโอกาสที่จะกลับไปเป็นโรคนี้อีกครั้งในเปอร์เซนต์ที่น้อย แต่การใช้งานจำเป็นจะต้องถูกควบคุมปริมาณและระยะเวลาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอาจมีผลข้างเคียงตามมา เช่น เกิดอาการคัน คลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้หญิงที่ตั้งครรภ์ยังสามารถใช้หลอดไฟทางการแพทย์นี้ในการทดแทนแสงอาทิตย์ที่ขาดไป เพื่อให้ได้รับวิตามิน D3 ที่เพียงพอนั่นเอง

หลอดไฟ UVC (ช่วงคลื่นระหว่าง 250-280 nm)

ในส่วนของหลอดไฟ UVC จะถูกเรียกว่าหลอดไฟฆ่าเชื้อ เนื่องจากมักถูกนำมาใช้ในการกำจัดเชื้อต่างๆ ในสถานที่ที่ต้องการรักษาความสะอาดอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมในสถานที่นั้น โดยหลอดไฟชนิดนี้มักถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาล สถานที่ปลอดเชื้อ อุตสาหกรรมอาหาร – น้ำดื่ม อุตสาหกรรมผลิตยาและเวชภัณฑ์ เรือนปศุสัตว์ รวมไปถึงห้องทดลองต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามการใช้หลอดไฟ UVC จำเป็นจะต้องมีความระมัดระวังเนื่องจากรังสี UVC เป็นรังสีที่มีอันตรายต่อผู้ที่สัมผัส ดังนั้นผู้ใช้จะต้องมีสัญลักษณ์หรือป้ายเตือนถึงการใช้รังสี และระวังไม่ให้สัมผัสโดนผิวหนังหรือดวงตา  

จะเห็นได้ว่าหลอดไฟ UV แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งความเข้มข้นของแสง ประโยชน์ในการใช้งาน และข้อควรระมัดระวัง ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้หลอดไฟให้ตอบโจทย์ความต้องการ จำเป็นจะต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้ใช้งานได้ถูกต้องตามคุณสมบัติและความโดดเด่นของหลอดไฟชนิดนั้นๆ

Buy_UVC

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็ปไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก